เนื้อหานี้ต่อจาก เข้าใจระบบเศรษฐกิจใน 30 นาที How The Economic Machine Works – ตอนที่ 1 นะครับ คนที่ยังไม่อ่านตอนที่ 1 ผมแนะนำให้ไปอ่านตอนนั้นก่อน
บทความนี้ เราจะมาเจาะลึกกันต่อนะครับว่า “ระบบเศรษฐกิจ” ทำงานยังไง ทั้งหมดนี้ใช้เวลา 30 นาที คุณจะมองเห็นเศรษฐกิจในมุมใหม่เหมือนดูจาก Google Map แทนที่จะเดินบนฟุตบาทแล้วต้องคอยถามทางเขาทุกหัวมุมที่เดิน
นอกจากนี้ ถ้าใครอยากหาโอกาสที่ดีที่สุดให้ตัวเอง มาดู วิธีลงทุนหุ้นต่างประเทศง่ายๆ ได้เลย
ทุกระบบเศรษฐกิจต้องพังทุก 100 ปี?
สรุปความเดิมจากตอนที่แล้วกันหน่อยครับ
- เงินคือสิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ
- เงินจะหมุ่นไปเรื่อยๆ ในระบบเศรษฐกิจ
- รายจ่ายของ A คือรายได้ของ B
- หนี้สินทำให้เศรษฐกิจโตในช่วงสั้นๆ แต่ชะลอตัวเมื่อต้องใช้หนี้คืน
- หนี้สินทำให้เกิดวงจรหนี้รอบเล็กและใหญ่ รอบเล็กกินเวลา 5-8 ปี รอบใหญ่ 75-100 ปี เวลาจบรอบใหญ่เศรษฐกิจจะเละมาก
- ในระยะยาว เศรษฐกิจโตจาก Productivity แต่ในะระยะสั้น เศรษฐกิจโตด้วยหนี้
ถ้าคุณใช้ชีวิตตอนปกติ คุณจะมองไม่เห็น “วงจรหนี้” ไม่ว่าจะเป็นรอบใหญ่หรือเล็ก เพราะคุณจะรู้แค่ว่า “ปีนี้เศรษฐกิจดี” หรือ “ปีนี้เศรษฐกิจแย่” แต่มองไม่เห็นภาพรวมว่าจริงๆ แล้วมันขึ้นลงเป็นรอบ
แต่ถ้าคุณรู้เรื่องรอบของเศรษฐกิจ คุณก็จะลงทุน วางแผนชีวิต หรือวางแผนธุรกิจได้ง่ายขึ้นตามวัฏจักรเศรษฐกิจ
และถ้าคุณเข้าใจภาพใหญ่ที่สุด คุณจะมองยาวไปถึง “รอบใหญ่” ที่ร้อยปีจะมาหน และคว้าโอกาสสำคัญไว้ได้
ที่น่าสนใจคือ ตอนนี้เราอยู่ในจุดเปลี่ยนในประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ เพราะเรากำลังเข้าใกล้ “จุดจบวงจรหนี้รอบใหญ่” เข้าไปทุกที เศรษฐกิจที่เดินมาถึงจุดจบรอบใหญ่จะพังทลายลงอย่างรวดเร็ว คุณจะเห็นธุรกิจล้มละลาย คนตกงาน และอนาคตมืดมน มันเป็นจุดที่สร้างเศรษฐีหน้าใหม่ และทำลายเศรษฐีรุ่นเก่ามาโดยตลอด
ประเทศไทยเผชิญจุดจบวงจรหนี้ “รอบใหญ่” ไปเมื่อปีพ.ศ. 2473 และ 2540 ทั้งสองครั้งเศรษฐกิจไทยพังพินาศ เป็นอภิมหาวิกฤติสำหรับคนที่ไม่พร้อม แต่เป็นโอกาสให้คนรุ่นใหม่สร้างตัวขึ้นมาได้
อเมริกาเผชิญจุดจบวงจรหนี้ “รอบใหญ่” ไปในปี 1930 และมาถึงตอนนี้เวลาได้ล่วงเลยไปเกือบ 100 ปีแล้ว เป็นไปได้ว่า “รอบถัดไป” อาจกำลังจะมาถึง เพียงแต่อเมริกาเป็นประเทศใหญ่ จึง “โกงความตาย” ได้นานกว่าคนอื่น…
เกิดอะไรขึ้นเมื่อถึงจุดจบวงจรหนี้ “รอบใหญ่”

จุดจบของวงจรหนี้รอบใหญ่ = ความพินาศครั้งใหญ่
เศรษฐกิจจะปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อกำจัดหนี้ออก แล้ว “เริ่มต้นใหม่” ซึ่งจะเกิดเหตุการณ์ต่างๆ 4 ข้อ
- รายได้ลด รายจ่ายลด
- หนี้สินถูกกำจัดทิ้ง
- คนรวยล้มละลาย เกิดเศรษฐีใหม่
- รัฐบาลพิมพ์เงินเพื่อแก้ปัญหา
1. รายได้ลด รายจ่ายลด
พอเศรษฐกิจตกต่ำ รายได้ของคนจะลด ซึ่งทำให้คนต้องลดรายจ่าย
แต่อย่าลืมว่า “รายจ่ายของ A คือรายได้ของ B” เมื่อคนหนึ่งลดรายจ่าย รายได้ของอีกคนก็ต้องลด
เกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ รายได้ลด รายจ่ายลด รายได้ลด รายจ่ายลด รายได้ลด…
เราจึงเห็นเศรษฐกิจทรุดเร็วมาก
2. หนี้สินถูกกำจัดทิ้ง
เมื่อคนจ่ายหนี้ไม่ไหว ก็ล้มละลาย หนี้ของเขาจึงหายไปจนหมด ถือเป็นการเริ่มต้นเศรษฐกิจใหม่
แต่ในระหว่างล้มละลาย เศรษฐกิจจะเสียหายหนักมาก
ถ้าลูกหนี้ไม่จ่ายเงิน เจ้าหนี้ก็จะล้มละลายตาม บริษัทที่ล้มละลายก็ไม่จ่ายเงินให้คู่ค้าธุรกิจ จึงมีคนล้มละลายต่อไปอีก เราจะเห็นคนแห่ไปถอนเงินจากธนาคาร เพราะกลัวว่าพรุ่งนี้ธนาคารจะปิดกิจการ ไม่มีให้ถอนอีกต่อไป
บางคนโชคดี เจรจากับเจ้าหนี้ได้สำเร็จ เขาจึงได้ลดหนี้ลงในระดับที่จ่ายไหว และต่อสู้ดิ้นรนต่อไป
3. คนรวยล้มละลาย เกิดเศรษฐีใหม่
เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี สังคมย่อมอยู่ไมไ่ด้
เราจะเห็นคนมาชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาล (เหมือนประเทศไทย)
เศรษฐีเดิมที่ธุรกิจมีปัญหาหรือหนี้สินสูงเกินจะแบกรับ จะล้มละลาย สูญเสียความมั่งคั่ง
ในทางกลับกัน นี่จะเปิดช่องให้คนธรรมดาสร้างฐานะได้ง่ายขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมขึ้นมา
4. รัฐบาลพิมพ์เงินเพื่อแก้ปัญหา
ก่อนรัฐบาลจะล้ม รัฐบาลจะถูกกดดันให้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งมักทำด้วยการแจกเงิน แจกสวัสดิการ และอัดฉีดเงินให้บริษัทที่ใกล้ล้ม เช่น ช็อปช่วยชาติ หรือ “จ่ายคนละครึ่ง” ที่มุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น
แต่รายได้ของรัฐบาลมาจากภาษี เมื่อเศรษฐกิจมีปัญหาย่อมเก็บภาษีไมไ่ด้ รัฐบาลจึงต้องแก้ปัญหาด้วยการพิมพ์เงินมาแจก
การพิมพ์เงินเป็นดาบ 2 คม มีทั้งข้อดีและเสีย
- ถ้ารัฐบาลพิมพ์อย่างพอเหมาะ เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้อย่างสวยงาม
- ถ้าพิมพ์เงินเยอะไป เงินจะกลายเป็นเศษกระดาษ เกิดเงินเฟ้อครั้งใหญ่จนเศรษฐกิจย่อยยับกว่าเดิม (เงินเฟ้อคืออะไร? ทำไมรัฐบาลอยากให้คุณจน)
“ทศวรรษที่หายไป”
เราจะเห็นเศรษฐกิจพังทลาย 2-3 ปี จากนั้นจะเป็นช่วงฟื้นฟู ซึ่งกินเวลา 7-10 ปี
คนที่ได้พบเจอจะเรียกสิ่งนี้ว่า “ทศวรรษที่หายไป” เพราะมันได้ทำลายอนาคตของคนทั้งรุ่นไปอย่างสิ้นเชิง
หลังจากยุคทองที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเจริญรุ่งเรือง ตลาดหุ้นพุ่งสูง อสังหาริมทรัพย์ขึ้นแรง ในปี 1990 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นร่วงลงมาทีเดียว 50% หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็พยายามฟื้นฟูประเทศอยู่เป็นสิบปี
แต่เนื่องจากสังคมผู้สูงอายุ ประกอบกับจีนเติบโตขึ้นมา ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่ได้กลับมายุครุ่งเรืองอีกเลย จนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว
ถ้าคุณกังวลว่าเศรษฐกิจไทยจะหายไปเป็นสิบปีเหมือนญี่ปุ่น ลองอ่านบทความ ลงทุนในทศวรรษที่กำลังจะหายไป ดูครับ
ภาระหนี้ หรือ “Debt Burden”
กลไกที่ทำให้เกิดวงจรหนี้ทั้งรอบใหญ่และเล็ก มาจากสิ่งที่เรียกว่า “ภาระหนี้” (Debt Burden)
- คนเราจะอยู่ได้ก็ต่อเมื่อ รายได้เพียงพอจะจ่ายดอกเบี้ยที่เกิดจากหนี้สิน
- ถ้ารายได้น้อยกว่าดอกเบี้ย ชีวิตเราจะพัง ดอกเบี้ยจะกินคุณไปเรื่อยๆ หนี้จะพอกขึ้นไม่หยุด ต่อให้ทำงานไปจนตายก็ไม่มีทางใช้หนี้ได้
- ช่วงแรกๆ ของวงจรหนี้รอบใหญ่ คนยังไม่มีหนี้มาก เราสามารถนำรายได้มาจ่ายดอกเบี้ยได้สบาย ยิ่งคนกู้เศรษฐกิจก็ยิ่งดี ยิ่งเพิ่มรายได้ และยิ่งเพิ่มหนี้
- คนเราจะมีปัญหาเมื่อรายได้ไม่พอจ่ายดอกเบี้ย คนจึงชะลอการใช้จ่าย ซึ่งทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว
- ในวงจรหนี้รอบเล็ก บางคนที่หนี้น้อยจะช่วยดันเศรษฐกิจต่อได้ เศรษฐกิจจึงฟื้นตัวเร็ว เกิดเป็นรอบเล็กต่ออีกรอบ
- ช่วงปลายรอบใหญ่ ทุกคนมีหนี้เต็มตัว รัฐบาลก็มีหนี้เต็มตัว ภาระหนี้เต็มเพดานกันหมด จึงไม่มีใครประคองเศรษฐกิจต่อได้แล้ว เข้าสู่จุดจบรอบใหญ่
ยิ่งถ้าดอกเบี้ยจากหนี้สิน สูงเกินรายได้ไปมาก ความเสียหายจะแรงเป็นพิเศษ
ถ้าคุณมีรายได้ 100 และหนี้สิน 500 คุณจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 75 ด้วยอัตราดอกเบี้ย 1.5% คุณยังพออยู่ได้
แต่ถ้าอยู่ดีๆ อัตราดอกเบี้ยขึ้นเป็น 3% คุณจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 150 กลายเป็นดอกเบี้ยสูงกว่ารายได้ คุณจะล้มละลายไม่รู้ตัว
รัฐบาลและแบงก์ชาติ จะเข้ามาแทรกแซงเสมอ
เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลจะพยายามเข้ามาแทรกแซงเสมอ มี 2 คนที่คุณต้องรู้จัก
- รัฐบาลกลาง
- แบงก์ชาติ คุมโดยผู้ว่าแบงก์ชาติ
รัฐบาลกลาง คุมโดยนายกรัฐมนตรีกับนักการเมืองในสภา รัฐบาลสามารถทำโครงการต่างๆ ที่อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยตรง ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น เหมือนที่เรามักได้ยินกันบ่อยๆ เงินนั้นก็มาจากภาษีของเรา หรือรัฐบาลไปกู้มาแจกนั่นเอง
- ชิม ช็อป ใช้
- ช็อปช่วยชาติ
- เราไม่ทิ้งกัน
- ฯลฯ ที่อัดฉีดเงินเข้าไปให้ประชาชนได้กินใช้กัน
ส่วนธนาคารกลาง/แบงก์ชาติ เป็นหน่วยงานพิเศษของแต่ละประเทศ มีหน้าที่ควบคุมเงินในระบบเศรษฐกิจ โดยหลักๆ แล้วทำได้ 2 อย่าง
- กำหนดอัตราดอกเบี้ย
- อัดฉีดเงิน/ดึงเงินออกจากเศรษฐกิจ
ตอนเศรษฐกิจตกต่ำ แบงก์ชาติจะกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการลดดอกเบี้ย เพื่อให้คนกู้เงินไปใช้เยอะๆ พอคนใช้จ่าย เศรษฐกิจจะดีขึ้นในช่วงสั้นๆ (รายจ่ายของ A คือรายได้ของ B) นอกจากนี้แบงก์ชาติยังอัดฉีดเงินเข้าเศรษฐกิจเพื่อให้เงินหมุนเยอะขึ้นด้วย (การอัดฉีดเงินเรียกว่า QE หรือ Quantitative Easing)
ตอนเกิดฟองสบู่ แบงก์ชาติจะลดความร้อนแรงโดยการเพิ่มดอกเบี้ย เพื่อให้คนกู้เงินน้อยลง เศรษฐกิจจะได้ชะลอลง นอกจากนี้แบงก์ชาติยังดึงเงินออกจากเศรษฐกิจเพื่อให้เงินหมุนน้อยลง
วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ปีพ.ศ.2540
จุดจบรอบใหญ่ที่คนไทยรู้จักกันดีคือ วิกฤติเศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง” ปีพ.ศ.2540
รอบใหญ่นี้ก็เหมือนรอบใหญ่อื่นๆ คือเศรษฐกิจโตด้วยหนี้ จนถึงจุดที่ทนไม่ไหว แล้วก็พังพรวดลงมาทีเดียว
แต่รายละเอียดของวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งนั้นน่าสนใจ เพราะมันไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่มาจากนโยบายรัฐที่ผลักดันให้คนไทยสร้างหนี้เป็นประวัติการณ์
เรื่องทั้งหมดเริ่มจากแบงก์ชาติไทยส่งเสริมการกู้เงินเพื่อการบริโภค โดยตรึงค่าเงินบาทให้แข็งผิดปกติ เพื่อให้คนไทยกู้เงินง่าย กินหรู บริโภคสินค้านำเข้าง่าย
- สมมุติว่าเงินบาท 100 บาทแลกสินค้าได้ 3 ดอลลาร์
- ถ้าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 100 บาทจะแลกสินค้าได้ 4 ดอลลาร์
- แสดงว่าเงินบาทเท่าเดิม ซื้อสินค้านำเข้าได้มากขึ้น คนไทยจึงพากันบริโภคสินค้านำเข้ามากขึ้น
ในด้านการลงทุน แบงก์ชาติยังมีนโยบายให้คนไทยกู้เงินต่างชาติมาเก็งกำไร
- ดอกเบี้ยไทยสูงกว่าดอกเบี้ยต่างชาติ (นโยบายแบงก์ชาติ) คนไทยจึงสามารถกู้เงินดอลลาร์มาฝากธนาคาร อยู่เฉยๆ ก็ได้กำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ย
- คนกู้เงินมาเก็งกำไรหุ้น สร้างหนี้เพื่อดันราคาหุ้น
- คนกู้เงินมาเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ สร้างหนี้เพื่อดันราคาอสังหาฯ
ไม่มีการลงทุนเพื่อสร้างรายได้และ Productivity ในระบบเศรษฐกิจจริง
มีแต่หนี้ที่เพิ่มขึ้นเพื่อการเก็งกำไรและการบริโภค
แต่เราเรียนรู้กันมาแล้วว่าช่วงที่เรากู้เงิน เศรษฐกิจจะดีเกินจริง และยิ่งกู้มามาก ตอนใช้คืนต้องเจ็บปวดเท่านั้น…
ทั้งหมดคือความ “บิดเบี้ยว” ที่แบงก์ชาติสร้างขึ้น โดยแบงก์ชาตินำเงินทุนสำรองของประเทศไปค้ำจุนอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงเกิดจริง เพื่อให้คนไทยกู้เงินมาบริโภคและเก็งกำไรกันมากที่สุดที่ทำได้ (คนคิดนโยบายก็คงมีเหตุผลของเขานะครับ แต่เรามองย้อนกลับไปแล้วรู้สึกไม่เหมาะสมแค่นั้นเอง)
แต่เมื่อหนี้สูงเกินไป แบงก์ชาติผลาญทุนสำรองไปจนหมด จึงรักษาอัตราแลกเปลี่ยนที่บิดเบี้ยวต่อไม่ไหว และปล่อยเงินบาทให้อ่อนค่ากลับสู่ความจริง ถึงเวลาต้องใช้หนี้คืน เศรษฐกิจจึงพังลงมาทีเดียว
บทเรียนในการใช้ชีวิต
- อย่าให้หนี้สินเพิ่มเร็วกว่ารายได้ ไม่งั้นมันจะทำชีวิตคุณพัง
- อย่าให้รายได้เพิ่มเร็วกว่า Productivity เพราะมันจะทำให้ไม่มีใครอยากจ้างคุณ
- ถ้าคุณ Productivity ต่ำ ทำงานได้ไม่ดี ในระยะยาวเงินเดือนคุณจะไม่โต เพราะค่าแรงจะไม่คุ้มกับสิ่งที่คุณทำ
- เพิ่ม Productivity ของตัวเองให้มากที่สุด เพราะมันคือสิ่งที่จะกำหนดชีวิตคุณในระยะยาว
ที่จริงผมได้อธิบายเรื่องพวกนี้อย่างละเอียดไว้หมดแล้วในคอร์สลงทุนบิงโก ซึ่งจะสอนวิธีลงทุนอย่างละเอียด โดยใช้เทคนิคของนักลงทุนชั้นนำทั่วโลกมาสอนคุณอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ (สอนตั้งแต่พื้นฐานจนลงทุนเก่ง) ซึ่งจะช่วยให้คุณสร้างความมั่งคั่งไปได้ตลอดชีวิต
เริ่มต้นลงทุนหุ้นต่างประเทศเพื่อโอกาสที่ดีกว่า
การลงทุนหุ้นคือการซื้อธุรกิจที่ยอดเยี่ยม ดังนั้นหุ้นที่ดีจะอยู่ในเศรษฐกิจที่มีการเจริญเติบโต มีนวัตกรรม และมี dynamics สูง
แต่ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยเติบโตช้าลงมาก คนไทยเกิดน้อยลง สังคมกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ ใครที่มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจจะพอรู้ว่า “มืดมน” นักลงทุนไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะเซียนหุ้นที่เข้าใจเรื่องนี้ จึงเริ่มเลี่ยงไปลงทุนต่างประเทศกันมากขึ้น
ถ้าคุณอยากหาโอกาสที่ดีที่สุดให้ตัวเอง คุณเองก็อาจศึกษาการลงทุนต่างประเทศมากขึ้น แล้วคุณจะพบว่าโอกาสดีๆ มีอยู่มากจริงๆ ผมมีบทความสอนวิธีลงทุนหุ้นอเมริกา หุ้นต่างประเทศให้คุณแล้ว (คุณจะได้หุ้นฟรีมูลค่าสูงสุด $1000 ด้วย)
สำหรับคนที่คิดว่าการลงทุนหุ้นต่างประเทศไกลตัวเกินไป อยากซื้อกองทุนให้เขาไปลงทุนหุ้นต่างประเทศแทนเรา นั่นก็เป็นทางเลือกที่ดีมากครับ แต่ก่อนหน้านั้น ผมแนะนำให้อ่าน ซื้อกองทุนต่างประเทศยังไง ให้กำไรมากขึ้น 100% ซึ่งผมเขียนไว้ให้คุณโดยเฉพาะเลยครับ
เรียนคอร์สลงทุน “นักลงทุนมือหนึ่งของโลก”
อยากศึกษาเรื่องการลงทุนแต่เริ่มไม่ถูก?
บิงโกมีคอร์สสอนลงทุนที่จะคุณอาจสนใจ คอร์สนี้จะสอนคุณตั้งแต่พื้นฐานจนถึงระดับสูง มือใหม่เรียนจบก็พร้อมลงทุนจริงได้เลย
คอร์สนี้ถูกออกแบบให้พิเศษกว่าคอร์สลงทุนทั่วไป เพราะมาจากหนังสือลงทุนของเซียนหุ้นระดับโลก ทั้งวอร์เรน บัฟเฟตต์, ปีเตอร์ ลินช์, เบนจามิน เกรแฮม, เรย์ ดาลิโอ และอื่นๆ จนเหมือน “นักลงทุนระดับโลกมาสอนคุณเอง” ทุกเล่มที่เราคัดมาคือหนังสือลงทุนที่ดีที่สุด ซึ่งได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็น “ของจริง” และจะร่นเวลาให้คุณลงทุนได้เก่งกาจอย่างรวดเร็ว